บทที่ 1 ก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรป
บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปอาฟริการะหว่าง2,000,000-500,000 ปีมาแล้วจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ผู้ยืนตัวตรง ( Homo Erectus ) มีความสูงราว 3 ฟุตเศษ ฟันคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน สมองเล็ก ใช้มือเพื่อทำประโยชน์ต่างๆทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อใช้คมในการตัด ฟัน หรือขูด ฟอสซิล(ซาก)ของมนุษย์วานร เรียกว่า “ออสตราโลพิเธคัส-Austalopithecus” เรียกอีกชื่อว่า “โฮโมฮาบิลิส-Homo Habilis-มนุษย์ผู้ถนัดใช้มือ” กระจายในทวีปแอฟริกา แหล่งสำคัญ คือ ซากมนุษย์วานรใน ถ้ำโอลดูเวย์ ( Olduvay Caveในแทนซาเนีย)พบเมื่อค.ศ. 1959 อายุราว1,750,000 ปี BP. เรียกว่า Olduvayensis)
Australopithecus Afarensis
Australopethecus, Mrs.Ples
Homo Erectus
มนุษย์ปักกิ่ง
Homo Erectus man
มนุษย์นีแอนเดอธัล (Neanderthal Man) พบหลักฐานที่ถ้ำนีแอนเดอร์ ใกล้เมืองดุลเซลคอร์ฟ เยอรมนี กระจายอยู่ในยุโรป-รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ 150,000 ปีBP.สูงกว่า 5 ฟุตเล็กน้อย ปริมาณมันสมองใกล้เคียงคนปัจจุบัน ใช้ไฟล่าสัตว์แบบมนุษย์ปักกิ่ง ประกอบพิธีศพและเชื่อเรื่องวิญญานอมตะโดยวางโครงกระดูกและเครื่องมือทำด้วยฟันและกระดูกสัตว์ในหลุมศพ
บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบัน มีวิวัฒนาการหลายหมื่นปีมาแล้ว เรียกบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันว่า “มนุษย์สมัยใหม่” หรือ “มนุษย์ฉลาด-Homo sapiens” ไม่ว่ารูปร่าง ผิวพรรณ ภาษาหรือเชื้อชาติใด ล้วนสืบเชื้อสายมาจาก Homo sapiens
มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) มีหลักฐานชัดเจน โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1823 ต่อมาใน ค.ศ. 1868 พบโครงกระดูก
มนุษย์โครมันยองเพิ่มที่ฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยอง มีอายุประมาณ 35,000 ปีBP.จัดเป็นมนุษย์ยุคหิน สูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบัน มีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน จำแนกช่วงเวลามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอาศัยพัฒนาการเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ยุคหินเก่า ( 30,000-16,000 BC. ) ยุคหินกลาง (16,000-10,000 BC.) ยุคหินใหม่ (10,000-1,200 BC.)
กะโหลกมนุษย์โครมันยอง
มนุษย์ยุคหินเก่า (Paleolithic or Old Stone Art) หลักฐานโดดเด่น คือ มนุษย์โครมันยอง เรียกตามชื่อถ้ำโครมันยอง ทางทิศตะวันตกของฝรั่งเศส พบโครงกระดูกและศิลปวัตถุจำนวนมาก จัดเป็นมนุษย์สมัยใหม่ หรือมนุษย์โฮโมซาเปียนส์กลุ่มหนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่เกือบ 6 ฟุต กะโหลกศีรษะยาว ใบหน้าสั้น ปริมาณสมองใกล้เคียงชาวยุโรปปัจจุบัน กระจายทั่วยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือสเปน สามารถทางการเขียนภาพบนผนังถ้ำ รู้จักเผาศพและสักบนใบหน้า ประติมากรรมรูปคนมักสร้างเป็นรูปผู้หญิง เน้นร่องรอยให้กำเนิดมาแล้วอย่างโชกโชน ประติมากรรมสลักหินรูปวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ สูง 4 นิ้วเศษ พบที่วิลเลนดอร์ฟ ออสเตรีย(ราว 25,000 -20,000 ปีBC. )ประติมากรรมเทพธิดาแห่งการให้กำเนิด ดินเผาสูง 8 นิ้ว พบที่ คาทาลคือยึค ( 6,500 – 5,700 ปีBC. ) ตุรกี วีนัสแห่งเลส์ปุคสลักจากงาช้าง พบที่ถ้ำเลส์ปุคฝรั่งเศส (ราว 20,000 ปีBC.)เน้นลักษณะทางเพศและมีขนาดเล็ก
รูปสลักVenus of Villendorf สมัยหินเก่า 30,000-25,000 BC.พบในออสเตรีย (E. L.-S., 20)
การดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยหินเก่า รู้จักล่าสัตว์ และเก็บพืชผัก ผลไม้กินเป็นอาหาร พึ่งพาธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมเต็มที่ เมื่อฝูงสัตว์และอาหารหมดลง ก็ย้ายถิ่นอาศัยติดตามฝูงสัตว์ไป อาศัยใกล้ทะเลหรือหนองน้ำ เพื่อหาอาหารและใช้น้ำอุปโภคบริโภค ถ้ำที่พวกเขาอยู่อาศัยก็มักจะมีธารน้ำไหลผ่าน เมื่อธารน้ำนั้นอุดตัน ก็ไปหาถ้ำใหม่อยู่ ได้แก่ ถ้ำในประเทศ สเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี ถ้ำที่มีชื่อเสียง คือ ถ้ำ Altamira ถ้ำ La Madeleine ถ้ำ Lascaux ถ้ำ Font-de-Gaume ในสเปนกับฝรั่งเศส
จิตรกรรมบนผนังถ้ำลาสโคซ์ พบว่า มีผลงานทั้งด้านข้างและเพดานถ้ำ ถ้ำ Lascaux ใกล้ Montingnac บริเวณลุ่มน้ำ Dordone ในฝรั่งเศส พบโดยบังเอิญ ค.ศ. 1940 เด็กชาย ๒ คนไปวิ่งเล่นหน้าถ้ำ สุนัขได้คาบลูกบอลเข้าไปในถ้ำแล้วออกไม่ได้ เด็กทั้งสองจึงจุดไฟส่องทางตามเข้าไปพบภาพเขียน ภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ 15,000 – 13,000 ปีBC.ภาพวัวไบซัน ม้า กวาง แสดงภาพด้านข้าง คำนึงถึงความจริง ท่าทางเคลื่อนไหว มีทักษะการใช้เส้นที่กล้าหาญ ไม่คำนึงสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับบางภาพ เช่น ภาพวัวบางตัวยาวถึง 16 ฟุต แต่ภาพม้าสูงเพียงช่วงขาของวัว เป็นต้น วาดภาพซ้อน ทับกัน สันนิษฐานว่าอาจวาดต่างช่วงเวลา มีเป้าหมายด้านความเชื่อเหนือเหตุผล
ภาพเขียนในถ้ำลาสโคซ์
ถ้ำอัลตามีรา (Altamira Cave เป็นถ้ำหินปูนในภาคเหนือของสเปน ลึกประมาณ 300 หลา ภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับถ้ำลาสโคซ์ อายุประมาณ 15.000 – 10,000 ปีBC. ด้านทักษะการเขียนภาพเคลื่อนไหวของม้าป่าโดดเด่นลีลาสมจริง แสดงถึงความช่างสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์ มีเทคนิคการระบายพื้นตัวสัตว์ด้วยสีแดง แล้วตัดเส้นอย่างเชื่อมั่นเด็ดเดี่ยว ลักษณะของภาพเขียนที่ถ้ำอัลตามีรา ภาพกวาง ม้า วัวไบซัน ทั้งภาพเดี่ยวและฝูง จำนวน 25 ภาพ แต่ละภาพมีขนาดใกล้เคียงขนาดสัตว์จริงในธรรมชาติ ภาพส่วนใหญ่วาดบนเพดานถ้ำ เป็นเลิศทั้งด้านสุนทรียภาพและกลวิธีการเขียน และเป็นตัวอย่างผลงานจิตรกรรมของศิลปินถ้ำเสมอ
ศิลปะยุคหินกลางของยุโรป(ระหว่าง 16,000-13,000 BC.)ไม่โดดเด่นมากนัก เป็นรอยต่อที่พัฒนาจากการมีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตใกล้เคียงกับสัตว์ กลมกลืนกับธรรมชาติของยุคหินเก่าสู่ยุคหินใหม่ที่สามารถปฏิรูปและจัดการธรรมชาติได้ มักจัดให้ยุคกลางเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ จิตรกรรมในสเปน พบตามหน้าผาบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในโปรตุเกสมีการวาดทั้งภาพคนและสัตว์ ภาพขนาดใหญ่สูงประมาณ 3 ฟุต ภาพขนาดเล็กขนาดเล็กสูงประมาณ 6-8 นิ้ว ท่าทางเคลื่อนไหวและเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แสดงออกเป็นรูปแบบคล้ายๆกันทั้งหมด น่าจะเป็นการสร้างสรรค์เกี่ยวกับลัทธิวิญญานนิยม ศิลปะยุคหินกลางมีฝีมือด้อยกว่าศิลปะสมัยหินเก่าและมีจำนวนน้อยกว่าด้วย
ยุคหินใหม่มนุษย์พัฒนามาจากสังคมนายพรานเก็บของป่า ล่าสัตว์และเร่ร่อน สู่ก้าวใหม่สังคมเกษตรกรรม เพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชน สมัยหินใหม่ตอนต้น มีการสร้างกระท่อมดินดิบมุงด้วยใบไม้ สร้างเรือโดยเอาท่อนซุงผูกเป็นเรือแคนู บางหมู่บ้านรู้จักปลูกข้าวสาลีและข้าวบาเลย์ รู้จักทำธนูและลูกศร เลี้ยงสุนัข ใช้หินเหล็กไฟที่ขัดจนบางเรียบ ใช้เครื่องมือหินขัดล่าสัตว์ ป้องกันตัว และทำเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ใช้ไฟปิ้งและอบอาหาร ทำภาชนะดินเหนียวและดินเผาใส่อาหาร ศิลปะโดดเด่นที่สุดของยุคหินใหม่ คือ อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ซึ่งนำเอาหินขนาดใหญ่มาตั้ง/ จัดวางลักษณะต่าง ๆแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบหินตั้งกับแบบโต๊ะหิน และสามารถแยกย่อยตามลักษณะการตั้งวางได้ด้วย
• หินตั้งเดี่ยว (Menhir or Standing Stone) เป็นแท่งหินตั้งอย่างโดดเดี่ยว เมนเฮอร์ที่สูงและใหญ่ที่สุดอยู่ที่ลอคมารีเก ฝรั่งเศสสูง 64 ฟุต
• หินตั้งเป็นแกนยาว(Alignment) เป็นการตั้งหินเป็นแนวฉากกับพื้นและตั้งเป็นแถวยาวหลายก้อน บางแห่งมีหินตั้งกว่าพันแท่ง เรียงรายกว่า 2 ไมล์
• หินตั้งเป็นวงกลม (Cromlech or Stonehenge) เป็นการนำหินมาตั้งเป็นวงกลม ใหญ่ที่สุดอยู่ที่แอฟบิวรี่ในอังกฤษ ศ.ก.กว้าง 6 ไมล์
• โต๊ะหิน (Dolmen) เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ 3 แท่งหรือมากกกว่านั้นวางพาดทับอยู่ด้วยกันคล้ายโต๊ยักษ์ หรือประตูที่คนสามารถเดินลอดผ่านได้ พบทั่วไปทั้งในยุโรปและอาฟริกา
Menhir or Standing Stone
Dolmen
Stonehenge of Salisbury Plain, England 2,100-2,000BC.(Edward Lucie-Smith,1992, 25)
บทที่ 2
อารยธรรมในเอเชียไมเนอร์และแอฟริกาเหนือ
:รากเหง้าความเจริญของชาวตะวันตก
รากเหง้าดั้งเดิมของอารยธรรมตะวันตกในแอฟริกาเหนือและเอเชียไมเนอร์ ก่อตัวขึ้นเมื่อ 4,000 B.C. พื้นที่สำคัญ 2 ภูมิภาค คือดินแดนเมโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในเอเชียไมเนอร์
ศิลปวัฒนธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย
ดินแดนเมโสโปเตเมีย หรือดินแดนแห่งแถบลุ่มแม่น้ำทั้งสอง (คือแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส) เป็นดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เมื่อ 4,000 B.C.
ดินแดนเมโสโปเตเมียมีลักษณะภูมิประเทศที่เปิดโล่งปราศจากปราการธรรมชาติจึงมักถูกชนเผ่าต่างๆรุกราน ชนเผ่าต่างๆที่เคยมีอำนาจและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเหนือดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แก่ ชาวสุเมเรียน ชาวอัคคาเดียน ชาวอะเมอไรต์ และชาวอัสซีเรียน เป็นต้น
ชาวสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียนเป็นคนกลุ่มแรกที่มีอำนาจปกครองชนเผ่าต่างๆเหนือดินแดนเมโสโปเมีย สภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย มีธรรมชาติที่แปรปรวนไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตเท่าใดนัก บางครั้งก็ร้อนจัดติดต่อกัน มีพายุรุนแรง บางครั้งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน บางครั้งหิมะจากเทือกเขาอะเมเนียนก็ละลายลงมาท่วมซ้ำ ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียเป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายไม่เห็นคุณค่าของชีวิตในโลกปัจจุบันมองตนเองเป็นเพียงทาสรับใช้หรือเครื่องตอบสนองความพึงพอใจของพระเจ้า
การปกครองและสภาพสังคมสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียนทุกคนเชื่อเรื่องการยกย่องและยำเกรงพระเจ้า มีหน้าที่ต้องซื่อสัตย์และรับใช้พระเจ้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ได้รับความเมตตาจากพระองค์
หลักฐานทางวัฒนธรรมของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศาสนา พวกเขามักสร้างศาสนสถานด้วยอิฐตากแห้ง ลักษณะคล้ายภูเขาขนาดใหญ่กลางเมืองเพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า เรียกว่า ซิกเกอแรต (Ziggurat) ชาวสุเมเรียนไม่นิยมสร้างพระราชวังขนาดใหญ่
ซิกเกอร์แรตแห่งเออร์
นักบวชเป็นชนชั้นสูงสุดในอาณาจักรสุเมเรียน ระยะแรก ปกครองโดยสภาของผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะ ระยะหลังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มและความเจริญ
ชาวสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษรเรียกว่า อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก
วรรณกรรมสำคัญของชาวสุเมเรียนคือ มหากาพย์กิลกามิช เป็นเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษที่แสวงหาชีวิตอมตะ ได้แนวความคิดเรื่องน้ำท่วมโลก ผู้คิดค้นหลักการอ่านอักษรคูนิฟอร์มคือ จี.เอฟ.กรอทเฟนด์
ภาพการพัฒนาอักษรคูนิฟอร์ม
ความเสื่อมของอาณาจักรสุเมเรียน
ในช่วง 2,370 B.C. กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอาณาจักรอัคคัด(เซมิติก) ได้รวบรวมเมืองในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสเข้าด้วยกัน เรียกว่า อาณาจักรอัคเคเดียน ปี (1,799-1,750 B.C.) ชาวอะมอไรต์ ซึ่งเป็นชนเผ่าเซมิติกภายใต้การนำของพระเจ้าฮัมมูราบีจากทะเลทรายอาระเบียก็ยึดครองดินแดนเมโสโปเมียและตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้น
มีประมวลกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าฮัมมูราบี ยึดหลักการแบบตาต่อตาฟันต่อฟันในการลงโทษ
แผ่นหินจารึกประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี
จักรวรรดิอัสซีเรีย
มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนิเนเวห์ ปกครองราษฎรด้วยวิธีการกดขี่ขูดรีดภาษีและโยกย้ายชาวเมืองดั้งเดิมออกไปจากถิ่นฐาน
สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (The Hanging Garden of Badilon)
ศาสนาและความเชื่อของชาวอียิปต์
ชาวอียิปต์เชื่อว่าเทพเจ้าเป็นผู้มีเมตตาและยกย่องฟาโรห์เสมอเทพเจ้าฟาโรห์จึงศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นกฏหมาย นิยมสร้างปิรามิด ปิรามิดที่สำคัญคือ The Great Pyramid of Gizeh อุทิศแด่ฟาโรห์คีออปส์ มีรูปสิงโตหน้าคนที่เรียกว่า Sphinx
มหาปิรามิดที่เมืองกีเวห์ องค์ซ้ายอุทิศแด่ฟาโรห์ไมเซรินัส 2,575 ปี B.C. องค์กลางอุทิศแด่ฟาโรห์คีออฟ 2,650 ปี B.C. องค์อุทิศแด่ฟาโรห์เชเฟรน 2,600 ปี B.C.
ความเจริญด้านอักษรศาสตร์ของอียิปต์
ชาวอียิปต์ประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่าอักษรไก่เขี่ยหรืออักษรเฮียโรกลิฟิก เพื่อบันทึกเรื่องราวทางศาสนาโดยเขียนบนกระดาษปาปิรุส อักษรไก่เขี่ยพัฒนาเป็นอักษรเฮียราติก ฌอง ฟรองซัวร์ ชองโปลิยอง เป็นผู้อ่านอักษรเฮียโรกลิฟิกจากจารึกบนแผ่นหินโรเซ็ทตา เมื่อค.ศ.1882
ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก(Hieroglyphic)
ชาวฟีนิเชียน
ชาวฟีนิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติก เดิมเรียกว่าพวก Canaanites อาศัยอยู่บริเวณคะนาอันเมื่อประมาณ 2,000 BC. มีรากฐานมาจากดินแดนเมโสโปเตเมียและอียิปต์ สภาพแวดล้อมริมฝั่งทะเลทำให้ชาวฟีนิเชียนเชี่ยวชาญการเดินเรือและการค้า พ่อค้าชาวฟีนิเชียนเดินเรือนำอารยธรรมมาจากตะวันออกไปยังแดนต่างๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกและอังกฤษเป็นพวกแรก สามารถตั้งอาณานิคมบนเกาะซิซิลีและเมืองคาร์เทจทางเหนือของแอฟริกา ในช่วงปี 750 BC.ชาวแอสซีเรียนได้ยึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียน เกือบหมดเหลือเมืองคาร์เทจเท่านั้น ในปี 146BC. เมืองคาร์เทจก็ถูกทำลายโดยจักวรรดิโรมัน
ชาวฮิบรู
ชาวฮิบรูเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย เมื่อประมาณ 1,400BC.ชนเผ่านี้มีโมเสสเป็นผู้นำในการปลดแอกจากการเป็นทาสขงอียิปต์
ในสมัยพระเจ้าเดวิดชาวฮิบรูก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอลขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยพระเจ้าโซโลมอนอาณาจักรอิสราเอลสามารถขยายตัวเป็นจักรวรรดิ แต่ไม่นานก็แตกแยกเป็นอาณาจักรอิสราเอลทางทิศเหนือและอาณาจักรจูดาร์ทางทิศใต้ และในที่สุดอาณาจักรอิสราเอลก็ถูกทำลายโดยชาวแอสซีเรียน การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้ชาวฮิบรูถูกกวาดต้อนไปยังบาบิโลเนียใหม่ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า “The Babylonian Captivity” จากนั้นชาวฮิบรูก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีก โรมันตามลำดับ
ในปีค.ศ.70 ชาวฮิบรูก่อการกบฏต่อจักรวรรดิโรมัน ทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ถูกทหารโรมันทำลายชาวฮิบรูกลายเป็นชนเผ่าเร่ร่อน
ศาสนายูดาย เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวา ทรงเลือกชาวฮิบรูเป็นประชาชนของพระองค์ พระคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาย ระบุถึงกำเนิดของศาสนายูดาย
ชาวเปอร์เซียน
ชาวเปอร์เซียนเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนเดิมอาศัยอยู่ทางเหนือของทะเลดำครั้นถึงปีที่ 1,200BC.จึงอพยพสู่ที่ราบสูงอิหร่านระยะแรกถูกปกครองโดยชาวมิเดสต่อมาพระเจ้าไซรัสได้สถาปนาอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นในปี 549BC. แล้วขยายอำนาจครอบคลุมตั้งแต่อินเดียถึงปาเลสไตน์ เมโสโปเตเมีย ลิเดีย ซีเรียและอียิปต์ ในสมัยพระเจ้าดาริอุสจักรวรรดิเปอร์เซียปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ศิลปะและศาสนาของชาวเปอร์เซียน
ศิลปะเปอร์เซียเกิดจากการผสมผสานอย่างหลากหลาย หลักฐานสำคัญคือพระราชวังเปอร์ซิโพลิสมีเสาหินสูงเพรียวอ่อนช้อย ทำหัวเสาเป็นรูปสิงโตหรือวัวอย่างกลมกลืนกับโครงสร้าง มีหินเป็นวัสดุก่อสร้างในเอเชียไมเนอร์และเมโสโปเตเมียนยมใช้อิฐ
ชาวเปอร์เซียนนับถือาสนาโซโรแอสเตอร์เรียกอีกอย่างว่าลัทธิบูชาไฟ ศาสดาชื่อโซโรแอสเตอร์นับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออาหุรา มาสดา เทพแห่งความดีหรือเทพแห่งแสงสว่าง ชาวเปอร์เซียมีหน้าที่ช่วยเทพแห่งความดีต่อสู้กับอาหริมานหรือซาตานแห่งความชั่ว
บทที่ 3
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกยุคคลาสสิก ( กรีก – โรมัน )
ศิลปวัฒนธรรมกรีก
การเข้ามาของชาวกรีก
กลุ่มชนป่าเถื่อนเผ่าอินโด – ยูโรเปี่ยน อพยพจากยุโรปเหนือเข้ามายังคาบสมุทรกรีกและได้รับอารยธรรมไมนวนจากเกาะครีตเข้ามาผสมผสานเรียกว่า อารยธรรมไมซีเนบนคาบสมุทรกรีก
ต่อมาคนเผ่าอาเคียน ได้ฟื้นฟูชุมชนขึ้นใหม่ผสมผสานกับพื้นเมืองเอเชียไมเนอร์ เรียกว่า ชุมชนไอโอเนียน ( Ionians ) การติอต่อระหว่างชาวดอเรียนและชาวไอโอเนียน ( คือชาวอาเคียนและชาวเกาะครีตเดิม) ผ่านวัฒนธรรมไอโอเนียนมีผลทำให้เกิดเผ่าพันธุ์ใหม่ เรียกว่าชาวกรีกโบราณอันเป็นต้นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
พื้นฐานเริ่มแรกของอารยธรรมกรีก ( 2000 BC – 1500 Bc )
ผลการขุดค้นทางโบราณคดีของ Henrich Schlieman เมื่อทศวรรษ 1870s และทศวรรษ 1880s ที่เมืองทรอย ( Troy) และเมืองไมซีเน ( Mycenae ) ทำให้ทราบว่าอารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต
( Crete )
ความเจริญของอารยธรรมไมนวน
อารยธรรมไมนวนของชาวครีตันมีความเจริญสูงสุดระหว่าง 1800 – 1500 ปี ก่อนคริสตศักราช เรียกว่า “ยุคพระราชวัง (The Place Period)”
อาชีพสำคัญของชาวครีตัน คือ เป็นพ่อค้าคนกลางค้าขายกับชาวอียิปต์ เอเชียไมเนอร์ อนาโตเลีย ซีเรียและแอฟริกาเหนือ สินค้าสำคัญคือ ข้าวสาลี ไวน์ น้ำมันมะกอก แร่ดีบุก ทองแดง ทองเหลืองและเครื่องปั่นดินเผ่าหลากสี
ชาวครีตันยกย่องสตรีและนับถือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าสูงสุด เทพเจ้าของพวกเขามีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าและให้คุณมากกว่าโทษ ทำให้ไม่นิยมสร้างวัด
ชาวครีตันถูกชาวไมซีเนจากแผ่นดินใหญ่รุกรานและยึดครองเมื่อประมาณ 1500 BC. ต่อมาชาวไมซีเนได้นำอารยธรรมไมนวนของชาวครีตันขึ้นไปเผยแพร่บนผืนแผ่นดินใหญ่ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเน กลายเป็นอารยธรรมไมซีเน
อารยธรรมไมซีเน
ลักษณะเป็นอารยธรรมของชุมชนที่กระจัดกระจายตามชายฝั่งของคาบสมุทรกรีกและเกาะต่างๆในทะเลอีเจียน เป็นรัฐอิสระ มีป้อมปราการเป็นที่อยู่ของประมุข พลเมืองจะสร้างบ้านเรือนรอบๆป้อมเมื่อเกิดสงคราม
ชาวไมซีเนเดินเรือค้าขายเก่งไม่แพ้ชาวครีตัน มีความสามารถทางด้านการรบ พิสูจน์ได้จากการยึดเมืองทรอยสำเร็จเมื่อปี 1200 BC. และสามารถขยายอิทธิพลไปทั่วฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อาราจักรไมซีเนได้ล่มสลายลงเมื่อปี 1120 BC. จากการเผาผลาญของอนารยชนเผ่าดอเรียน ส่งผลให้อารยธรรมซึ่งก่อตัวจากเกาะครีตแล้วขยายตัวมายังดินแดนฝั่งทะเลอีเจียนของประเทศกรีซปัจจุบันยุติลงชั่วคราว การฟื้นตัวของอารยธรรมกรีก
ในช่วง 700 BC. กษัตริย์ต้องสูญเสียอำนาจด้านการเมืองและการปกครองแก่ขุนนาง แต่หลังจากนั้นไม่นานนักได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ศูนย์กลางของอารยธรรมกรีกในยุคคลาสสิก
เอเธนส์ เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมกรีกเมื่อ 500 BC. ทำให้มีความเจริญทางด้านปรัชญา อักษรศาสตร์ ศิลปะ การแพทย์ ดาราศาสตร์อย่างรวดเร็ว
สงครามเพลโลโพนีเซียน
สงครามเพลโลโพนีเซียนเกิดจากการที่นครรัฐสปาร์ตาซึ่งเป็นรัฐทหารไม่พอใจต่อความรุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์ จึงร่วมมือกับรัฐน้อยใหญ่เข้าโจมตีนครรัฐเอเธนส์เพื่อชิงความเป็นผู้นำของนครรัฐต่างๆผลที่ตามมาคือความหายนะของนครรัฐกรีกทั้งหมด
ยุคเฮเลนิสติก (Helenistic) การมีอำนาจของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งรัฐมาซิโดเนียก่อนนครรัฐกรีกเสื่อม
ยุคนี้กรีกสามารถขยายดินแดนครอบคลุมเอเชียไมเนอร์ เปอร์เซีย อียิปต์และอินเดียในยุคนี้ศิลปวัฒนธรรมของกรีกได้แพร่หลายทั่วไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างศูนย์การค้าและศิลปวัฒนธรรมกรีกขึ้นที่เมืองอเลกซานเดรียในอาณาจักรอียิปต์ด้วย
สถาปัตยกรรมกรีก
ชาวกรีกนิยมสร้างวิหารบนเนินดินหรือภูเขาเล็กๆเรียกว่าอะโครโพลิส วิหารสำคัญคือวิหารพาร์เธนอน สำหรับประดิษฐ์รูปเคารพของเทพีอะเธนา ลักษณะเด่นคือด้านนอกใช้เสาแบบดอริก ด้านในใช้เสาแบบไอโอนิก
วิหารพาร์เธนอน แห่งเอเธนส์ สร้างถวายเทพีอะธีนา
ความเชื่อของชาวกรีก
ชาวกรีกเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ แต่เทพเจ้ากรีกมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหมดประทับอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส มีเทพเจ้าซูสหรือเซอุส เป็นประมุข
ประติมากรรม
ระยะแรก งานประติมากรรมจะใบหน้าตรงและแข็งทื่อ
สมัยคลาสสิก ลักษณะเด่นของงานประติมากรรมสมัยนี้คือ ช่างนิยมทำประติมากรรมรูปชายเปลื่อยกาย
สมัยเฮเลนิสติก คืองานศิลปะมีลักษณะเหมือนจริง ไม่งดงามแบบเพ้อฝันอีกต่อไป โดยประติมากรรมของกรีกยุคหลังนี้จะแสดงออกให้เห็นความเจ็บปวด
เทพอพอลโล
จิตรกรรมของกรีก
ระยะแรก เป็นงานจิตรกรรมบนภาชนะดินเผา
สมัยเฮเลนิสติก นิยมวาดสีพื้นตัดกับภาพในฉาก
สมัยหลัง นิยมวาดภาพบนแผ่นกระเบื้องหรือหินสีประดับบนผนังขนาดใหญ่
การละครของกรีก
เริ่มถือกำเนิดขึ้นจากพิธีการบวงสรวงเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ไดโอนิซุส ลัวพัฒนามาเป็นละครแบบโศกนาฎกรรมและสุขนาฎกรรม โดยใช้ตะวละครชายทั้งหมดสวมหน้ากาก ใช้ผู้พากย์และนักร้องหมู่
ชาวอีทรัสกันตั้งชุมชนบริเวณที่ตั้งของชาวกรุงโรมก่อนชาวละติน
บริเวณกรุงโรมเป็นที่ตั้งชุมชนของชาวอีทรัสกัน เมื่อชาวอีทรัสกันอพยพเข้ามายังคาบสมุทรอินเดียแล้วได้นำอารยธรรมชาวกรีกเข้ามาด้วย
ชาวละตินขับไล่กษัตริย์ชาวอีทรัสกันแล้วปกครองแบบสาธารณร
ในปี 509 ก่อนคริสตศักราช ชาวละตินได้ขับไล่กษัตริย์ของชาวอีทรัสกันออกไปแล้วตั้งการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้น อำนาจการปกครองสาธารณรัฐโรมันอยู่ในมือของชนชั้นสูงคือพวกแพทริเชียน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอาณาจักรโรมันจากระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบกษัตริย์
ระหว่างปี 133-130 ก่อนคริสตศักราช ชนชั้นปกครองและฝ่ายทหารได้แย่งชิงอำนาจกันเอง ปีที่ 31 ก่อนคริสตศักราช ออกเทเวียนแม่ทัพสำคัญหลานชายของจูเลียสซีซาร์มีอำนาจทางทหาร ส่งผลให้เขาสามารถปราบปรามมาร์ก แอนโธนี ทำให้โรมเปลี่ยนแปลงการปกคองจากระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิแทน
ออกเทเวียนทรงเป็นจักรพรรดิองค์แรก มีสมญานามว่าออกัสตัส ส่งผลให้มีการขยายดินแดนและอารยธรรมอกไปอย่างกว้างขวาง
สถาปัตยกรรมโรมัน
แม้ชาวโรมันจะด้อยกว่าชาวกรีกในด้านปรัชญาแต่ก็มีความสามรถทางด้านดัดแปลงและปรับปรุงอารยธรรมอย่างกลมกลืน ชาวโรมันไม่สร้างวิหารขนาดใหญ่ แต่นิยมสร้างอาคารและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มีการดัดแปลงซุ้มประตูของกรีกให้เป็นแบบอาร์คและดัดแปลงหลังคาอาคารแบบทรงจั่วให้เป็นแบบโดมซึ่งนิยมมากในสมัยกลาง
ประติมากรรมโรมัน
ช่างชาวโรมันมักสะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์แบบสมจริงมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติแต่มีส่วนงดงามแบบประติมากรรมกรีก และนิยมสร้างประติมากรรมรูปเหมือนส่วนครึ่งบนของบุคคลสำคัญ ศิลปินชาวโรมันนิยมแกะสลักภาพนูนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของนักรบ
เทพปกรณัมกรีก-โรมัน
เทพปกรณัมกรีก-โรมัน หรือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาแขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับตำนานของเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีก เพราะชาวโรมันรับอารยธรรมกรีกมาใช้ ล้วนำความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามาด้วย เพียงแต่เปลี่ยนชื่อของบรรดาเทพเจ้ากรีกให้เป็นชื่อของตน
เทพเจ้ากรีก-โรมันมีมากมายหลายสิบองค์และเหล่าเทพบางองค์มีความสัมพันธ์กับทั้งเทพและมนุษย์ จึงเกิดทายาทเป็นทั้งมนุษย์และอมนุษย์อีกนับไม่ถ้วน
กำเนิดเทพปกรณัมกรีก-โรมัน
แรกเริ่มเทพปกรณัมหรือเทวดาตำนานเป็นบทกลอนที่ท่องจำกันมาเป็นรุ่นๆต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งตำนานเทพเจ้า บ้างก็ว่า โฮเมอร์แต่ง บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม เฮซิออดแต่ง
เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส
เทพชั้นสูง อยู่บนสวรรค์บนยอดเขาดอลิมปัส มีทั้งหมด 12 องคื ดังนี้
1.ซูส (Zeus) เป็นพระบิดาของบรรดาเทพเจ้า รวมทั้งเป็นประมุขแห่งสวรรค์ด้วย ซูสมีอาวุธเป็นสายฟ้า มีนกประจำพระองค์คือนกอินทรี
2.โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเลของกรีก สัญลักษณ์ของพระองค์คือ “สามง่าม” ที่สามารถแหวกน้ำทะเลและทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
3.ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเกษตรกรรม
4.เฮร่า (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์ เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส และสตรี สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง
5.เฮสเทีย (Hestia) เทพเจ้าแห่งการครองเรือน เทพเจ้าแห่งครอบครัว พระนางเป็นเทพีที่เป็นพรหมจารีตลอดชีวิต พระนางมีสัญลักษณ์เป็นไฟนิรันดร
6.อาเรส (Ares) เทพแห่งสงคราม สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยว
7.อพอลโล่ (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย การรักษา และดนตรี พระองค์เป็นผู้ที่มีเรื่องราวความรักมากมาย และมักเป็นความรักที่ไม่สมหวัง สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน
8.อาเทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ พระองค์เป็นเทพีที่เป็นพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆคือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม
9.เฮอร์มิส (Hermes) เทพแห่งการค้า เทพแห่งการโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ พระองค์มักปรากฎกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคถาที่มีมือพัน
10.อะธีนา (Athena) เทพีแห่งสงคราม ความเฉลียวฉลาด เมื่อเธอเกิดได้โพล่ออกมาจากศีรษะของZeus ในชุดเกาะพร้อมรบ
11.อะดฟรไดตี้(Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เนื่องจากพระนางเป็นเทพีที่มีความงดงามมาก สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย
12.เฮฟเฟสตุส (hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์
สงครามทรอย (Trojan War)
สงครามทรอยเป็นสงครามสำคัญระหว่างชาวกรีกและชาวเมืองทรอยซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียไมเนอร์(ประเทสตรุกีปัจจุบัน) สงครามนี้เกิดขึ้นหลังจากเจ้าชายปารีสแห่งทรอยลักพาเจ้าหญิงเฮเลนวึ่งเป็นชายาของกษัตริย์เมนนิลิอัสแห่งรัฐสปาร์ตากลับไปยังกรุงทรอย
มหากาพย์อีเลียดกล่าวถึงการวางแผนตีกรุงทรอยของกองทัพกรีก โดยสร้างม้าไม้จำลองขนาดยักษ์เรียกว่า “ม้าโทรจัน” เพื่อให้ทหารกรีกเข้าไปว่อนตัวอยู่ในม้า แล้วเข็นไปไว้หน้ากรุงทรอย เหมือนเป็นของขวัญว่าชาวกรีกยอมแพ้สงคราม จากนั้นก้ถอยทัพออกห่างจากเมืองทรอย ชาวทรอยเห็นม้าโทรจัน ก็ต่างยินดีและเข็นม้าโทรจันเข้าเมือง และจัดงานฉลองเป็นการใหญ่ เมื่อชาวทรอยหลับกันหมด ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ก็ออกมาจากม้าโทรจันแล้วเปิดประตูเมืองให้กองทัพกรีกเข้ามายึดเมืองทรอยได้แล้วเผาเมืองทรอยทิ้ง จึงเป็นสาเหตุให้เหล่าเทพไม่พอใจ และกลั่นแกล้งไม่ให้ชาวกรีกยกทัพกลับบ้านเมืองอย่างปลอดภัย
บทที่ 4
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์
กำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถือกำเนิดจากการที่จักรพรรดิไดไอเคลเตียน (ศ.ค. 285-305 ) ทรงดำริว่าจักรวรรดิดรมันอันมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลควรมีการปกครองแบบ Tetrarch คือ แบ่งศูนย์กลางทางการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จักรวรรดิดรมันตะวันตากกับจักรวรรดิโรมันตะวันออก
จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกมีการปกครองแบบเอกาธิปไตย (Autocrat) โดยจักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งด้านการปกครองจักรวรรดิและทางศาสนา เพราะทรงเป็นตัวแทนแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดในจักรวรรดิ
จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีอายุยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 330-1453 เนื่องมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมคล้ายป้อมปรากการมีเทือกเขาถึงเจ็ดเทือกและแม่น้ำล้อมรอบทำให้ยากต่อการเข้าตี
ปัญหาสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจ คือ ความขัดแย้งภายในทางศาสนา จนไม่สามรรถต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิมุสลิมในเอเชียไมเนอร์ ยุดรปและแอฟริกาได้
ความอ่อนแอของสถาบันจักรพรรดิในชั้นหลังก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครองในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15
จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสต์ศาสนา
สถาบันคริสต์ศาสนาของโรมันตะวันตกมีความแตกต่างจากโรมันตะวันออกหลายด้านทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิดลกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism ซึ่งต่อมาในศตวรรษที่ 11 ได้กลายเป็นนิกายออร์โธดอกซ์ กับคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ผ่านการตีความของจักรพรรดิคอนสแตนตินทำให้นิกายนี้เชื่อว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า
ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดลำดับเมืองสำคัญทางศาสนาเป็น 5 เมือง คือ โรม คอนสแตนติโนเปิล อเล็กซานเดรีย แอนดิออชและเยรูซาเล็ม
การเกิดนิกายกรีกออร์โธดอกซ์และโรมันคาธอลิก
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 จักพรรดเลโอที่ 3 ทรงยกเลิกการเคารพบูชารูปเคารพและรูปปั้นทั้งในโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตกทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เป็นเหตุให้สถาบันจักรพรรดิสูญเสียอำนาจ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจของสถาบันจักรพรรดิได้สำเร็จ และแยกกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ 1054
จักรวรรดิไบแซนไทน์และความสำคัญที่มีต่อโลกตะวันตก
กฎหมายและการปกครองมีการรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่
- Code คือ บรรดากฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ
- Diges คือ ประมวลความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายต่าง ๆ
- Institute คือตำรากฎหมาย
- Novelsคือภาคผนวกของ Code และประมวลความเห็นของจักรพรรดิสมัยต่าง ๆ
ประมวลกฎหมายสำคัญเป็นของจักรพรรดิจัสติเนียน เรียกว่า Corpus Juris Civilis หรือ Justinian Code ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอด และยังคงมีอิทธิพลต่อวีถีชีวิตของชาวยุโรปตะวันออกในปัจจุบัน
ศิลปวิทยาการไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้สืบทอดผสมผสานศิลปะวิทยาการของโลกคลาสสิกและโลกมุสลิมให้เข้ากับคริสต์ศาสนาไว้ได้ครบถ้วน
ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น จอห์น เดอะ เกรมาเรียน เสนอทฤษฎีเรื่องความเร็วของวัตถุในสุญญากาศมิได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้น ๆ นอกจากนี้ซีโมนเสธ
ทางด้านศิลปะนั้น จักรวรรดิไบแซนไทน์ไดผสมผสานรูปแบบศิลปะกรีกโรมันและเปอร์เซียอย่างกลมกลืน เป็นคลังด้านศิลปวิทยาการของกรีกโรมันและโลกมุสลิมที่ถ่ายทอดแก่โลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 ตามลำดับ
ศาสนา
ศาสนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์พัฒนามาจากคริสต์ศาสนาแบบกรีกนิยมมีผลทำให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นสองนิกาย คือ กรีกออร์โธด็อกซ์นับถือกันในยุโรปตะวันออกและโรมันคาธอลิกนับถือในยุโรปตะวันตกอย่างเด่นชัน
ศาสนาอิสลามกับอารยธรรมตะวันตก
ศาสนาอิสลามหรือศาสนาของพวกชาราเซน เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายแห้งแล้งและเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ และชาวเบดูอิน
ศาสดามะหะหมัด
ศาสดามะหะหมัดเกิดในตระกูลพ่อค้าวงศ์กูไรซิด เมื่อโตขึ้นได้คุมคาราววานค้าขายแล้วแต่งงานกับหญิงหม้าย การเดินทางทำให้มีวิสัยทัศน์ จากการพบพ่อค้าชาวฮิบรู ชาวคริสต์และพ่อค้าที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ ครั้นอายุ 40 ปี ก็ประกาศตัวเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายเพื่อเผยแพร่คำสอนของพระอัลหล่าห์
ศาสนาอิสลามสอนเรื่องการนอบน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ อดกลั้น สามัคคีรักใคร่ฉันท์พี่น้องและอุทิศชีวิตเพื่อศาสนา เป็นต้น ศาสนาอิสลามแบ่งเป็น 3 นิกาย คือ
1. นิดายสึกนี่
2. นิดายชิอะห์
3. นิกายซูฟีร์
การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิม
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมะหะหมัดใน ค.ศ. 632 จักรวรรดิมุสลิมมีการการปกครองโดยมีกาหลิบ และมีการแย่งชิงอำนาจดดยเชื้อพระวงศ์ของพระมะหะหมัดฝ่ายบิดาของมเหสีแต่ตอนหลังมีนายพลผู้หนึ่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งราชวงศ์อุมัยยาร์ด ส่วนราชธานีของจักรวรรดิมุสลิมย้ายไปยังเมืองดามัสกัส ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิมุสลิมเปลี่ยนจากคาบสมุทรอารเบียเป็นบริเวณแถบเมดสโปเตเมีย จากนั้นเข้าไปในยุโรปก่อตั้งอาณาจักรมุสลิมในสเปนอิตาลีตอนใต้และแอฟริกาตอนเหนือ
อารยธรรมมุสลิม
ระหว่างคริสต์ตวรรษที่ 5-11 ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในยุคกลาง แต่จักรวรรดิมุสลิมกลับเจริญก้าวหน้าอย่างมากมายและมีส่วนสำคัญในการเสริมความก้าวหน้าของจักรพรรดิไบแซนไทน์อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย
- ศาสนาอิสลาม
- ภาษา
- ปรัชญา
- วรรณกรรม
บทที่ 5
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลาง
ความหมายของยุคกลาง (ค.ศ. 410 – 1494)
ยุคกลางเป็นยุคมืดแห่งศิลปะวิทยาการ นักคิดในยุคฟื้นฟูสิลปวิทยาการ (คริสต์ศตวรรษที่ 15) และนักคิดแห่งสำนักฟิโลซอฟ (The Philosophes) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีวอลแตร์ (Francois Voltaire) เป็นผู้นำเสนอว่ายุคกลางเป็นยุคที่ยุโรปหยุคนิ่งทางศิลปะวิทยาการ และอยู่ระวห่างความเจริญของโลกคลาสสิกกับความรุ่งเรืองของยุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (ต้นคริสศตวรรษที่ 5-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของยุคกลาง
ยุคกลางตอนต้น เป็นยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน เป็นยุคแรกของสังคทมศักดินาซึ่งทำให้เกิดการชะงักงันทางปัญญาไร้กฎระเบียบ วินัยและมีการผสมผสานกันของศาสนาคริสต์กับอารยธรรมกรีก-โรมัน
ยุคกลางช่วงรุ่งเรือง เป็นยุคทองของสังคมศักดินาและสถาบันศาสนา คริสตจักรและอาณาจักรอยู่ภายใต้การชี้นำของพระสันตะปาปามีการฟื้นฟูปรัชญาของอริสโตเติลทำให้สังคมฟื้นตัวทางปัญญาและเศรษฐกิจ
ยุคกลางตอนปลาย เป็นยุคเสื่อมของสถาบันศาสนาและระบอบศักดินา มีการสร้างรัฐประชาชาติและยอมรับอำนาจกษัตริย์สนใจปรัชญากรีก-โรมัน นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการความก้าวหน้าทางแพทย์
ความหมายของระบบศักดินา
Feudalism มาจากคำว่า Fief แปลว่า ที่ดินแปลงหนึ่ง หมายถึงระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมที่เน้นความสำคัญของกรรมสิทธิ์ที่ดินการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นเจ้าของที่ดินเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสิทธิ์อำนาจทางการเมืองและสังคมหาก ปราศจาก กรรมสิทธิ์ในที่ดินบุคคลก็ไม่สามารถอ้างสิทธิทางการเมืองได้
ความเป็นมาของระบบศักดินา
กรุงโรมแตกหลังการโจมตีของอนารยชนเผ่าเยอรมัน 3 ครั้งในปี ค.ศ. 410 ค.ศ. 455 และ ค.ศ. 476 ผู้นำชาวเยอรมันเผ่าวิซิกอธ ได้ตั้งตัวเป็นประมุขและทำลายอารยธรรมทุกอย่างในดินแดนเหนือเทือกเขาแอลป์ จนความเจริญต่าง ๆ สูญสิ้นลงไปอย่างสิ้นเชิง
ปัจจัยในการก่อตัวของระบบศักดินาแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ
1. การรับจารีตการปกครองทางโลกมาจากโรมัน
2. การรับรูปแบบการปกครองทางศาสนามาจากโรมัน
3. โครงสร้างทางสังคมของอนารยชนเผ่าเยอรมัน
สังคมยุคกลาง
Manor เป็นหน่วยปกครองทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจระดับพื้นฐานในยุคกลางเชื่อมโยงเจ้าที่ดิน (Lord) กับประชากรเอาไว้ การปกครองนี้เรียกว่าระบบ Manorialism
การเมืองยุคกลาง
หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ ทั่วไปในยุโรปใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 ดังนี้
พวกวิซิกอธ รุกเข้าตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือของสเปน ก่อตั้งแคว้นอาควิเตน มีตูลูสเป็นเมืองหลวง
อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจากการใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็กเพราะปลุกไม่รู้จักใช้เงินชอบการต่อสู้ กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดมากจากการเลือกตั้งยกย่องเพศหญิงมากกว่าสังคมโรมัน เด็กชาย-หญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูเทียมกัน
คริสตศาสนา
คริสต์ศาสนาเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ต้นคริสตกาลแต่ไม่ได้รับความนิยมต่อมาในปี ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ทำให้ชาวโรมันทิ้งลัทธิการบุชาเทพเจ้าและภูตผี การคุกคามของอนารยชนและการแย่งชิงอำนาจของผู้ปกครองจึงทำให้ชาวโรมันหันมานับถือคริสต์ศาสนา หลังจักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลง คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันเดียวที่ยื่นหยัดได้ภาขใต้การนำของพระสันตปาปา แต่จักรพรรดิกลับหมดอำนาจสิ้นเชิง
- ศีลล้างบาปแรกเกิด
- ศีลสง่า
- ศีลสมรส
- ศีลบวช
- ศีลมหาสนิท
- ศีลแก้บาป
- ศีลบทสุดท้าย
อาณาจักรคาโรลินเจียน
อาณาจักรคาโรลินเจียนพัฒนามาจากอาณาจักรเมโรวินเจียนในแคว้นกอล ซึ่งยอมให้พลเมืองนับถือศาสนาคริสต์ในปลายคริสต์ดศตวรรษที่ 5 ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 อำนาจของอาณาจักรเมดรวินเจียนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน
อาณาจักรคาโรลินเจียนเริ่มเสื่อมลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ทำให้อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามสัญญาแวร์ดัง (the treaty of Verdun) คือ
- ส่วนแรก จักรพรรดิ Lothair ปกครองอาณาจักรส่วนกลางได้แก่อิตาลี เบอร์กันดีอัลซาด ลอเรนท์ เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก
- ส่วนที่สอง Louis the German ปกครองเยอรมัน
- ส่วนที่สาม Charlethe Bold ปกครองฝรั่งเศส
การฟื้นตัวของเมือง
ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันทำให้เมืองศูนย์กลางทางการค้าและศิลปวัฒนธรรมสิ้นสุดบทบาทาลงไปด้วยสำนักบาทหลวงและโบสถ์ในชนบทจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแทนเมืองนานกว่า 500 ปี
สมาคมการค้าหรือสมาคมอาชีพล
นอกจากนี้นักรบ นักคิด นักเขียนและอื่น ๆ ก็ต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตน แต่ละสมาคมก็มีระเบียบและจรรยาบรรณควบคุมสมาชิกให้ทำงานได้มาตรฐาน เช่นหากคนทำขนมปังทำขนมปังไม่ได้น้ำหนักก็จะถูกเอาขนมปังห้อยคอประจาน คนทำไวน์ผลิตไวน์ไม่มีคุณภาพก็ถูกบังคับให้ดื่มไวน์แล้วเอาส่วนที่เหลือราดตัว และสมาคมอาชีพยังกีดกันมิให้สมาชิกผลิตสินค้าอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ทำให้ขาดการคิดสร้างสรรค์สินค้าอื่นออกสู่ท้องตลาด ครั้งถึงสมัยกลางตอนปลายสภาวะเช่นนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคิดเรื่องปัจเจกชนมาแทนที่
กำเนิดมหาวิทยาลัยในยุโรป
มหาวิทยาลัยบางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และปัญญาชนกลุ่ม University อันเป็นองค์กรทางวิชาชีพในเมือง มหาวิทยาลัยบางแห่งขยายตัวมาจากโรงเรียนวัน บางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแพร่หลายมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเสียงมากที่สุดทางตอนเหนือ มหาวิทยาลัยโบโลญยาในอิตาลีมีชื่อเสียจงที่สุดทางตอนใต้
ด้านการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยยังไม่มีอาคารเรียน ห้องสมุดหรืออุปกรณ์จึงต้องใช้โบสถ์หรือห้องโถงของมหาวิหารหรือห้องเช่าเพื่อการเรียนทำให้อาจารย์และนักศึกษามักย้ายมหาวิทยาลัยไปยังต่างเมือง เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าเช่าสถานที่อาหาร
สงครามครูเสด
ความขัดแย้งระหว่างคริสต์กับอิสลามตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 7 เป็นสาเหตุของสงครามครูเสด เมื่อชาวมุสลิมรุกรามและยึดครองยุโรปบางส่วนทำให้ชาวคริสต์ขัดขวางการขยายตัวของศาสนาอิสลามซึ่งชาวคริสต์ถือว่าเป็นภัยต่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์
สงครามครูเสดเกิด 9 ครั้ง การรบครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1096-1099 เท่านั้นที่เกิดจากศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระจ้าไม่มีเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องทำให้นักรบครูเสดสามารถยึดครองกรุงเยรูซาเล็มและจัดระบบการผกครองแบบฟิวดัลที่เยรุซาเล็มได้แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกผลักดันกลับในสงครามครูเสดครั้งที่ 2
สงครามครูเสด
ผลกระทบของสงครามครูเสด
ผลจากสงครามทำให้ชาวคริสต์เปิดรับความรู้ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติกับชาวตะวันออกอย่างกว้างขวางส่งผลให้การค้าเจริญเติบโตขึ้นอาทิ สินค้าประเภทผ้าฝ้ายฯลฯ และกระตุ้นให้มีการเร่งผลผลิตทางเกษตรกรรมและหัตถกรรมเมื่อชาวยุโรปนำวิทยาการกลับมาเผยแพร่จึงก่อให้เกิดความตื่นตัวทางการศึกษาและศิลปะทำให้ระบบฟิวดัลและระบบแมนเนอร์ซึ่งปิดกั้นเสรีภาพและความสามารถของปัจเจกชนถูกทำลาย
วรรณกรรมสมัยกลาง
วรรณกรรมสมันกลางมีทั้งวรรณกรรมทางโลกและทางศาสนา
วรรณกรรมทางศาสนาเขียนเป็นภาษาละติน งานชิ้นหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนสมัยกลางมาก คือเทวนคร โดยนักบุญเขียนตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน กล่าวถึงการสร้างโลกและกำเนิดของมนุษย์ การไถ่บาปและการพิพากษาครั้งสุดท้ายก่อนที่มนุษย์จะกลับไปสู่ดินแดนของพระเจ้า
การเสื่อมอำนาจของศาสนาจักร
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3ทรงมีฐานเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรมจากการที่ทรงใช้อำนาจครอบงำเหนืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งกษัตริย์และขุนนางในยุโรปตะวันตกต่างก็เชื่อฟังพระองค์
การแตกแยกทางศาสนาเป็นเหตุให้ศาสนจักรเสื่อมอำนาจและศรัทธาสังคมยุโรปจึงเปิดโอกาสให้พวกนกรีตแม่มด หมดผีเข้ามีบทบาทต่อชีวิตชาวเมืองสังคมยุโรปจึงเน่าเฟะจึงเป็นที่มาของการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16
บทที่ 6
ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและสมัยบารอค-รอคโคโค
สมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นก่อนในอิตาลีก่อน จากนั้นก็เผยแพร่ไปทางยุโรปตอนใต้ ได้แก่ ฝรั่งเศสเยอรมนีตอนใต้ และสเปน ส่วนยุโรปทางเหนือนั้นรับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงจากอิตาลีเช่นกันแต่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด และข้อปฏิบัติทางคริสต์ศาสนา
สาเหตุที่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นก่อนในอิตาลี
ประการที่หนึ่ง สภาพทางภูมิศาสตร์ อิตาลีเป็นที่ตั้งของกรุงโรม ศูนย์กลางของอารยธรรมโรมัน
ประการที่สอง สงครามครูเสด ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานร่วมสองศตวรรษตลอดเวลาของสงคราม
ประการที่สาม ความเสื่อมโทรมของสถาบันทางคริสต์ศาสนาฝ่ายบริหารขององค์กรศาสนา ประพฤติตัวเหลวแหลกเป็นส่วนใหญ่
ประการสุดท้าย สภาพเศรษฐกิจและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ชาวอิตาลีค้าขายของจนร่ำรวยแล้วก็พยายามมหาทางเข้าไปมีบทบาททางการปกครอง
ลักษณะศิลปวัฒนธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1. ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงสุดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าเป็นกลุ่มที่ควบคุมทั้งด้านการ ปกครอง การเมือง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2. ศิลปะทุกด้านนิยมความสวยงามตามแบบกรีก-โรมันแม้อิทธิพลของศิลปะกอธิกและไบแซนไทน์จะมีอยู่บ้างแต่ศิลบปกินอิตาเลียนได้นำศิลปะแบบกรีก-โรมันมาเป็นแม่แบบแล้วเพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ
3. เป็นสมัยที่ภาษาและวรรณคดีมีแบบแผนสมบูรณ์สละสลวยตามแบบภาษาและวรรณคดีกรีก-โรมัน ชนชั้นกลางโดยทั่วไปนิยมศึกษาวรรณคดีกรีและภาษีละติน
4. เน้นแนวความคิดตามอุดมการณ์ของลัทธิมนุษย์กนิยม
ลักษณะของวรรณคดี
การเปลี่ยนแปลงทางวรรณคดีจากสมัยยุคกลางมาสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้จะเริ่มจะเริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ลักษณะวรรณคดีในยุคนี้จะแตกต่างจากยุคกลางแทบจะโดยสิ้นเชิง
ลักษณะคำประพันธ์ต่าง ๆ จะเลียนแบบคำประพันธ์ของกรีก-โรมันทุกด้านมีการพิมพ์บทประพันธ์ภาษากรีก-ละติน เป็นภาษาท้องถิ่นด้วยเรื่องราวเทพนิยายกรีกจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้นได้นำหลักการศิลปะกรีก-โรมัน มาผสมผสานเข้กับเทคนิคใหม่ ๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้แก่การจัดให้มี แสง เงา ช่องว่า และภาพี่แสดงการเคลื่อนไหวและเพื่อให้ภาพดูใกล้ความเป็นจริงศิลปินจึงได้เพิ่มภาพลวงให้เห็นส่วนลึกเข้าไปด้วย
จุดเริ่มต้นของศิลปะเรอแนสซองส์เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะให้ต่างจากยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จากผลงานนิโคลา ปิซาดน ผู้ออกแบบและสร้างแท่นสวน วัดที่เมืองปิชา เป็ดภาพนูนเกี่ยวกับประวัติของพระเยชูโดยใช้รูปแบบและกลวิธีอย่างประติมากรรมกรีก-โรมัน ประติมากรรมดังกล่าวจึงมีชื่อเสียงและกลายบันดาลใจให้กับศิลปินเรอแนสซองส์ระยะต่อมา
ศิลปะเรอแนสซองส์ส่งผลให้มีผู้อุปถัมภ์ศิลปินอย่างคึกคัก สภาวการณ์ดังกล่าวจึงกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแองเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแดงเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกและวิศวกรส่วนเลโอนาร์โด ดาวินซี ก็เป็นทั้งศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
ศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ ยุครุ่งเรือง
ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีผลงานส่วนใหญ่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ได้รับการยกย่องในสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองผลงานของดาวินชีเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
นอกจากลีโอนาโด ดาวินชีแล้วศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองแล้วอัลเบรคท์ดูเรอร์ ศิลปินชาวเยอรมัน ก็ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผลงานสำคัญชิ่นหนึ่งคือภาพเหมือนศิลปิน จัดแสดงที่เมืองมิวนิคแต่ผลงานของเขากลับส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางแก่ศิลปินในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ยกเว้นเยอรมนี
ลีโอนาร์โด ดา วินชี
การปฏิรูปศาสนา
ในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14-15 สถาบันคริสต์ศาสนาประสบกับความท้าทายอำนาจอย่างมากจากหลายฝ่ายนอกจากพลังทางความคิดแบบปัจเจกชนนิยมแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมและการปกครองกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สั่นคลอนอำนาจของศาสนาจักร
กลุ่มที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาจักรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน
- กลุ่มของเจ้าหน้าที่ในองค์การศาสนาคริสต์
บทบาทของมาร์ติน ลูเธอร์
เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์เริ่มงานปฏิรูปศาสนา จุดประสงค์ระยะแรกของเขาคือ ต้องการให้มีการจัดระบบการบริหารภายในสถาบันศาสนาใหม่โดยใช้ระบบผู้แทนแทนระบบการแต่งตั้งอีกทั้งต้องการให้มีการปฏิรูปศาสนาในระดับต่าง ๆ และลดความสำคัญของพระสันตปาปาในการแต่งตั้งและมีอำนาจเหนือพระราชาคณะใน ค.ศ. 1517 ลูเธอร์เสนอหลักการ 95 ประการ ติดประกาศที่บานประตูโบสถ์ ณ เมืองวิตเตนเบอร์ก โจมตีความเสื่อมทรามของศิลธรรมจรรยาของพวกพระและการปฏิพฤติปฏิบัติผิดในคริสต์ศาสนา
แนวคิดและหลักการของลูเธอร์
หลักการปฏิบัติของลูเธอร์ที่แตกต่างจากองค์การคริสต์ศาสนาจักรมี 3 ประการ ดังนี้
1. ศรัทธาโดยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ
2. อำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์คือสิ่งเดียวที่ตัดสินความถูกต้อง
3. คริสต์ศาสนิกชนทุกคนเป็นพระได้ทั้งนั้น
ความคิดทางการเมืองของลูเธอร์
ในความคิดทางการเมืองลูเธอร์สนับสนุนอำนาจการปกครองสูงสุดของฝ่ายบ้านเมืองทั้งนี้เพราะลูเธอร์ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ไปมีส่วนรับผิดชอบในทางโลก เขายอมรับว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ของคนในบังคับที่ต้องเชื่อฟังฝ่ายปกครอง
แนวความคิดของจอห์น คาลแวง
1. การปฏิรูปศาสนามีผลโดยตรงต่อประเทศตะวันตก กล่าวคือได้แบ่งแยกคริสต์ศสนิกชนเป็น 2 นิกายคือ นิกายโรมันคาทอลบิกสนับสนุนพระสันติปาปาแห่งกรุงโรมก็แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ จำนวนมาก
2. ก่อให้เกิดปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก หลังจากที่หลายประเทศในยุโรปมีการปฏิรูปศาสนาและยอมรับนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งฝ่ายคาทอลิกประมาณว่าเป็นการปฏิวัติต่อต้านอำนมาจสูงสุดที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นการปฏิวัติทางศาสนา
ผลการปฏิรูปทางศาสนาที่มีต่อโลกตะวันตก
การปฏิรูปศาสนา ทำให้สังคมตะวันตกซึ่งเคยมีคริสต์ศาสนาเป็นศูนย์รวมของผู้คนหลายหลายชาติภายใต้ศรัทธาและความเชื่อเดียวกันเกิดความแตกแยกและหันไปนับถือคริสตศาสนานิกายต่าง ๆ และเกิดขันติธรรมทางศาสนาทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาปรับปรุงประเทศของตนแทนการยึดติดกับศาสนา จนเกิดแนวทางใหม่ในสังคมตะวันตกโดยที่ผู้ปกครองเป็นอิสระจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ดังเช่นสมัยกลาง
ศิลปะบารอค
ยุคบารอคกำเนิดขึ้นเป็นครั้-แรกที่ประเทศอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วยุโรประหว่าง ค.ศ. 1550-1750 เจริญสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1680-1730 ในช่วงนี้มีชื่อเรียกว่ายุคในทางศิลปะ ระยะเวลา 200 ปีตั้งแต่ช่วงปลายยุคเรอแนสซองส์ได้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกไปจากสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองทั้งจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมวรรณกรรรมและคนตรีเรียกว่า ศิลปะบารอคคำว่า ลักษระที่ผิดเพี้ยนไปจากระเบียบวีคิดทางการสร้างสรรค์ต้นแบบ
จิตรกรรม
จิตรกรรมสมัยบารอคเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาจิตรกรรมสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรือง โดยเน้นให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสงเงาเพื่อให้ดึงดูดความสนใจและความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ลักษณะเด่นอีกประการของจิตรกรรมบารอค คือ ภาพคนจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา
คาราวัคโจ
คาราวัคโจ ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นศิลปินสมัยบารอคคนแรก ที่ปูทางไว้ให้กับรูเบนส์ เรมบรานท์และเวอร์เมียร์ แม่นยำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของคน มักจะเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
เทคนิคแนวทางศิลปะของเรมบรานท์
แทนที่จะเขียนภาพเพื่อเหตุผลทางศาสนาเขากลับกลับเขียนภาพที่มีเนื้อหาอื่นทำให้ภาพเขียนของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนที่ยิ่งใหญ่เทคนิคทางสิลปะที่เรมบรานท์ใช้คือความแตกแนเรื่องหลักกายวิภาคศาสตร์ ผสมผสานกับการจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆ ไว้ในความมืด และให้แสงสว่างจ้าเป็นจุดเน้นของภาพกระจายเป็นจุด ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเรมบรานท์ที่ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังมากที่สุด
ประติมากรรม
ผลงานประติมากรรมสมัยบารอค มีลักษณะรูปแบบศิลปะที่แสดงองค์ประกอบอันวิจิตรอลังการเช่นเดียวกับจิตรกรรมแสดงท่วงท่าอย่างโลดโผนคล้ายการแสดงละคร
เบอร์นินี
เกิดในครอบครัวประติมากรมีชื่อเสียงเขาเป็นศิลปินทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมีโอกาสสร้างงานชุดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพประประกอบด้วยภาพ
ศิลปะโรโกโก
ปารกฎในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นแบบอย่างศิลปกรรมอีกแบบหนึ่งของบารอค หรือเป็นผลจากพัฒนาการของศิลปะบารอค นักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นศิลปะกลุ่มเดียวกับศิลปะบารอค
จิตรกรรมรอคโคโค
จิตรกรรมโรโกโกมีลักษณะไม่แตกต่างจากงานประดับประดาตกแต่งทั่วไป จิตรกรจะเน้นรายละเอียดในการประดิษฐ์ตกแต่งส่วนประกอบย่อยมากมาย หรูหรา เกินธรรมชาติเพื่อเน้นในเกิดความหลงใหลในบรรยากาศแห่งภาพนั้น ๆ
ดนตรีคลาสสิก
ศิลปะการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ดึงดำบรรพ์ในยุคกรีกและโรมันการดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ และกิจการทางศาสนาโดยเริ่มมาการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรีในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด
อุปรากร ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่ประเทศออสเตรีย โดยคีตกวีกลุ๊ค และโมสาร์ท ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่
กรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่น ๆ จำนวนมากในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรปนักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนักศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสุมส่ง